ภารกิจ และหน้าที่รับผิดชอบของหน่วยงาน
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มีนโยบายและเป้าหมายที่แถลงต่อสภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยถือเป็นนโยบายระยะยาวตลอดวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี 2563-2567 ของคณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.สุมัทนา กลางคาร และทีมบริหาร ได้กำหนดนโยบายและเป้าหมาย ที่จะพัฒนาคณะฯ ในการพัฒนาที่จะส่งเสริมขับเคลื่อนคณะสาธารณสุขศาสตร์ให้พัฒนายิ่งขึ้น การก้าวไปสู่การเป็นสถาบันสาธารณสุขที่มีคุณภาพ และมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น อีกแห่งหนึ่งของประเทศและภูมิภาค จึงจำเป็นต้องอาศัยการนำที่เข้มแข็งทั้งจากผู้นำสูงสุดขององค์กร คือ คณบดี ที่มีศักยภาพ ความรู้ ความสามารถ การมีเครือข่ายที่กว้างขวางภายใต้การสนับสนุนจากบุคลากรทุกคนในคณะฯ และทีมงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โดยมีเนื้อหาประเด็นนโยบายและเป้าหมาย หลัก 5 ด้าน ดังนี้
1. ผลิตและพัฒนาบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานวิชาชีพสาธารณสุข
2. วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพที่สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ
3. บริการวิชาการด้านสุขภาพร่วมกับชุมชนที่สอดคล้องกับภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น
4. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ
5. พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพและการบริหารองค์กรเพื่อสนับสนุนความเป็นมหาวิทยาลัยอัจฉริยะ
โดยมีรายละเอียดนโยบาย/เป้าหมาย ดังนี้
1. ผลิตและพัฒนาบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานวิชาชีพสาธารณสุข
โดยจะสร้างบัณฑิตสาธารณสุขให้ติด 1 ใน 5 ของมหาวิทยาลัยที่มีการสอนสาธารณสุข เตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนให้พร้อมอยู่เสมอ เช่น หลักสูตร รายวิชา ผู้สอน ผู้เรียน และสิ่งอำนวยความสะดวก
ปริญญาตรีทั้ง 4 หลักสูตร
- พัฒนาระบบออนไลน์ ให้สามารถรองรับการจัดการเรียนการสอน การสอบ และการประชุม ภายใต้สถานการณ์ภาวะวิกฤติโรคระบาด ของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 และสอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนในสมัยยุคดิจิตอล
- พัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการ ให้เกิดประสิทธิภาพสำหรับการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการ
- เน้นการปฏิบัติเพิ่มมากขึ้นทั้งในและนอกห้องเรียน
- จัดให้มีห้องปฏิบัติการ/แหล่งฝึกในชุมชน
บัณฑิตศึกษา ส.ม. และ ส.ด. 4 หลักสูตร
- พัฒนาระบบออนไลน์ ให้สามารถรองรับการจัดการเรียนการสอน การสอบ และการประชุม ภายใต้สถานการณ์ภาวะวิกฤติโรคระบาด ของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 และสอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนในสมัยยุคดิจิตอล
- หลักสูตรระยะสั้น หลักสูตรระบบคลังหน่วยกิต
- เน้นการทำวิจัยที่ตอบสนองโจทย์และปัญหาของชุมชน สังคม และพัฒนาเป็นนวัตกรรม
- เพิ่มสาขาวิชา (สาขาการวิจัย เทคโนโลยีสุขภาพ)
– พัฒนาหลักสูตร
- สอดคล้องกับ มคอ.1 สาธารณสุขศาสตร์
- พัฒนารายวิชาที่จะทำเป็น Short Course, Credit bank ในทุกหลักสูตร
- ให้ตรงกับกรอบมาตรฐานวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน
- กลุ่มส่งเสริมสุขภาพและอนามัยชุมชน
- กลุ่มป้องกันโรค ควบคุมโรค ระบาดวิทยา สถิติและการวิจัยทางด้านสาธารณสุข
- กลุ่มตรวจประเมิน การบำบัดโรคเบื้องต้น การดูแลช่วยเหลือฟื้นฟูสภาพ การส่งต่อ
- กลุ่มอาชีวอนามัยและอนามัยสิ่งแวดล้อม
- กลุ่มบริหารสาธารณสุขและกฎหมายสาธารณสุข
- การพัฒนาหลักสูตรของคณะหน่วยงานให้มีความเป็นเลิศ เป็นที่ต้องการของตลาด
- พัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพ และพัฒนารายวิชาที่จะเป็นหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นและสะสมในระบบคลังหน่วยกิต
- MOU กับเขตสุขภาพที่ 7 สำหรับเป็นแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนิสิต เครือข่ายความร่วมมือการทำวิจัย และบริการวิชาการ
– ระบบห้องปฏิบัติการที่สนับสนุนการจัดการเรียนการสอน วิจัย บริการวิชาการ เช่น
- ห้องปฏิบัติการสาธารณสุขเบื้องต้น ห้องปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อม
- ห้องปฏิบัติการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ห้องปฏิบัติการด้านโภชนาการ
- ห้องปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีสุขภาพ
– การพัฒนานิสิต
ปริญญาตรีทั้ง 4 หลักสูตร
- นักสาธารณสุข ทั้งในภาครัฐและเอกชน โดดเด่นในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันควบคุมโรค และการเรียนรู้กับภาวะวิกฤติโรคระบาด ของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019
- นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ด้านโภชนาการ
- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานวิชาชีพ (จป วิชาชีพ)
- ศึกษาต่อในวิชาชีพอื่น เช่น พยาบาล แพทย์ เภสัช ทันตแพทย์
- ผู้ประกอบการ เช่น ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สถานบริการด้านสุขภาพ
- สร้างบัณฑิตควบคู่ไปกับการสร้างกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-Long Learning)
- องค์ความรู้ (Knowledge)
- ทักษะ (Skills: Hard and Soft skills)
- หลักคิดที่ถูกต้อง (Mindset)
- สร้างบัณฑิตที่มุ่งเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงอย่างเป็นรูปธรรม
เสริมสร้างทักษะความรู้ใหม่ที่พร้อมรับเทคโนโลยีทันสมัย ควบคู่ไปกับการสร้างกำลังคนระดับสูง (Brain Power) ร่วมกับเครือข่ายระดับโลก
บัณฑิตศึกษา ส.ม. และ ส.ด.
- นักวิจัย นักจัดการสุขภาพ อาจารย์
2. นโยบายด้านวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพที่สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ
1) พัฒนางานวิจัยร่วมกับชุมชนและเครือข่ายสุขภาพ ทั้งเป็นนักวิจัยหลัก และร่วม และสนับสนุนห้องปฏิบัติการสำหรับวิจัย
- การดูแลสุขภาพระดับครอบครัว ชุมชน
- การดูแลสุขภาพตามกลุ่ม: แม่และเด็ก วัยรุ่น ผู้สูงอายุ โรคเรื้อรัง
- การเฝ้าระวัง: การเฝ้าระวังโรค สิ่งแวดล้อม โภชนาการ
- การตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสุขภาพ
2) พัฒนาผลงานผลงานวิจัยของนิสิตระดับปริญญาตรีและ ระดับบัณฑิตศึกษา ผลิตผลงานวิจัยด้านผลิตภัณฑ์ นวัตกรรม เพื่อแก้ไขปัญหา โจทย์ของชุมชน สังคม และถ่ายทอดสู่ชุมชนและสังคม
3. ด้านการบริการวิชาการด้านสุขภาพร่วมกับชุมชนที่สอดคล้องกับภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น
- มีหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น ที่สามารถสะสมในระบบคลังหน่วยกิตและสร้างรายได้ อย่างน้อย 5 หลักสูตร
- ห้องเรียนรู้ด้านสุขภาพ
- Health Promotion Center of MSU
- Central Health Lab
- MSU Surveillance Center
- สภาการสาธารณสุขชุมชน
- เครือข่ายวิชาชีพ: มหาสารคาม เขตสุขภาพ ประเทศ
- ชุมชนต้นแบบด้านสุขภาพ
4. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ
4.1 การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการส่งเสริมสุขภาพของคนทุกช่วงวัย เช่น
– การดูแลหลังคลอดและการให้นมบุตร
– ของเล่น/การละเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย
– การออกกำลังกายโดยการประยุกต์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน
4.2 การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพจากผู้สูงอายุ
5. ด้านการพัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพและการบริหารองค์กรเพื่อสนับสนุนความเป็นหาวิทยาลัยอัจฉริยะ
5.1 สร้างสัมพันธภาพให้เกิดขึ้นภายในคณะฯ
- มีเป้าหมายร่วมกันทุกคนไม่แยกหลักสูตร
- บุคลากรสายสนับสนุน มีกรอบงานที่ตรงกับตำแหน่ง
- สร้างขวัญและกำลังใจ
- พัฒนาห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ให้ได้มาตรฐานในการวิจัย และบริการวิชาการ สำหรับหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
- มีระบบออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพสำหรับการเรียนการสอน การประชุม
- มีระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพสำหรับการบริหาร การเรียน การสอน การวิจัย
5.2 ใช้ระบบประกันคุณภาพ EdPEx : Education Criteria for Performance Excellence ทำให้การบริหารงานทุกส่วนสอดคล้องกัน พัฒนาทั้งกระบวนการ
และผลลัพธ์
- การนำองค์การ
- กลยุทธ์ / แผน
- ลูกค้า
- การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้
- บุคลากร
- ระบบปฏิบัติการ
- ผลลัพธ์
- กระบวนการตัดสินใจ