คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม 44150 email : [email protected]
โทรศัพท์ 043-719868 , 043-754420
โทรภายใน 4070
ภารกิจ และหน้าที่รับผิดชอบของหน่วยงาน
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มีนโยบายและเป้าหมายที่แถลงต่อสภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยถือเป็นนโยบายระยะยาวตลอดวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี 2563-2567 ของคณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.สุมัทนา กลางคาร และทีมบริหาร ได้กำหนดนโยบายและเป้าหมาย ที่จะพัฒนาคณะฯ ในการพัฒนาที่จะส่งเสริมขับเคลื่อนคณะสาธารณสุขศาสตร์ให้พัฒนายิ่งขึ้น การก้าวไปสู่การเป็นสถาบันสาธารณสุขที่มีคุณภาพ และมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น อีกแห่งหนึ่งของประเทศและภูมิภาค จึงจำเป็นต้องอาศัยการนำที่เข้มแข็งทั้งจากผู้นำสูงสุดขององค์กร คือ คณบดี ที่มีศักยภาพ ความรู้ ความสามารถ การมีเครือข่ายที่กว้างขวางภายใต้การสนับสนุนจากบุคลากรทุกคนในคณะฯ และทีมงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โดยมีเนื้อหาประเด็นนโยบายและเป้าหมาย หลัก 5 ด้าน ดังนี้
1. ผลิตและพัฒนาบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานวิชาชีพสาธารณสุข
2. วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพที่สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ
3. บริการวิชาการด้านสุขภาพร่วมกับชุมชนที่สอดคล้องกับภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น
4. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ
5. พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพและการบริหารองค์กรเพื่อสนับสนุนความเป็นมหาวิทยาลัยอัจฉริยะ
โดยมีรายละเอียดนโยบาย/เป้าหมาย ดังนี้
1. ผลิตและพัฒนาบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานวิชาชีพสาธารณสุข
โดยจะสร้างบัณฑิตสาธารณสุขให้ติด 1 ใน 5 ของมหาวิทยาลัยที่มีการสอนสาธารณสุข เตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนให้พร้อมอยู่เสมอ เช่น หลักสูตร รายวิชา ผู้สอน ผู้เรียน และสิ่งอำนวยความสะดวก
ปริญญาตรีทั้ง 4 หลักสูตร
บัณฑิตศึกษา ส.ม. และ ส.ด. 4 หลักสูตร
– พัฒนาหลักสูตร
– ระบบห้องปฏิบัติการที่สนับสนุนการจัดการเรียนการสอน วิจัย บริการวิชาการ เช่น
– การพัฒนานิสิต
ปริญญาตรีทั้ง 4 หลักสูตร
เสริมสร้างทักษะความรู้ใหม่ที่พร้อมรับเทคโนโลยีทันสมัย ควบคู่ไปกับการสร้างกำลังคนระดับสูง (Brain Power) ร่วมกับเครือข่ายระดับโลก
บัณฑิตศึกษา ส.ม. และ ส.ด.
2. นโยบายด้านวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพที่สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ
1) พัฒนางานวิจัยร่วมกับชุมชนและเครือข่ายสุขภาพ ทั้งเป็นนักวิจัยหลัก และร่วม และสนับสนุนห้องปฏิบัติการสำหรับวิจัย
2) พัฒนาผลงานผลงานวิจัยของนิสิตระดับปริญญาตรีและ ระดับบัณฑิตศึกษา ผลิตผลงานวิจัยด้านผลิตภัณฑ์ นวัตกรรม เพื่อแก้ไขปัญหา โจทย์ของชุมชน สังคม และถ่ายทอดสู่ชุมชนและสังคม
3. ด้านการบริการวิชาการด้านสุขภาพร่วมกับชุมชนที่สอดคล้องกับภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น
4. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ
4.1 การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการส่งเสริมสุขภาพของคนทุกช่วงวัย เช่น
– การดูแลหลังคลอดและการให้นมบุตร
– ของเล่น/การละเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย
– การออกกำลังกายโดยการประยุกต์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน
4.2 การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพจากผู้สูงอายุ
5. ด้านการพัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพและการบริหารองค์กรเพื่อสนับสนุนความเป็นหาวิทยาลัยอัจฉริยะ
5.1 สร้างสัมพันธภาพให้เกิดขึ้นภายในคณะฯ
5.2 ใช้ระบบประกันคุณภาพ EdPEx : Education Criteria for Performance Excellence ทำให้การบริหารงานทุกส่วนสอดคล้องกัน พัฒนาทั้งกระบวนการ
และผลลัพธ์