คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม 44150 email : [email protected]
โทรศัพท์ 043-719868 , 043-754420
โทรภายใน 4070
หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต
หลักสูตรใหม่ (2560)
1. ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต
ภาษาอังกฤษ : Doctor of Public Health Program
2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อปริญญาและสาขาวิชาระดับดุษฎีบัณฑิต
ชื่อปริญญาภาษาไทย : สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต
ชื่อย่อภาษาไทย : ส.ด.
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ : Doctor of Public Health
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ : Dr.P.H.
3. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
3.1 นักวิชาการสาธารณสุข ในสถานบริการสุขภาพทุกระดับ (ปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ)
3.2 ผู้บริหารงานด้านสาธารณสุข ในองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน
3.3 อาจารย์ในสถาบันการศึกษาหรือนักวิจัยด้านสาธารณสุขศาสตร์
3.4 องค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องกับด้านการจัดการสุขภาพด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม
4. หลักการและเหตุผล ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
4.1 ปรัชญา
เป็นหลักสูตรพหุสาขาขั้นสูงที่มุ่งผลิตพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพ ให้มีองค์ความรู้ทักษะ วิสัยทัศน์ สร้างสรรค์เชิงวิชาการและวิชาชีพ เป็นผู้นำด้านวิชาการ การบริหาร การวิจัย สามารถประยุกต์ใช้หลักวิชาการในการแก้ไขปัญหาทางด้านสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิผล เพื่อภาวะสุขภาพที่ดีของประชาชนอย่างยั่งยืน ภายใต้กรอบคุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพสาธารณสุข
4.2 ความสำคัญ
การพัฒนาระบบสุขภาพไทยในช่วงที่ผ่านมาได้มีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ จากเดิมในอดีตที่มีความเชื่อว่าปัญหาสุขภาพมีสาเหตุจากปัจจัยหลักเพียงประการเดียว คือ ปัจจัยด้านกายภาพทางเคมีและทางด้านชีววิทยาทางการแพทย์ (Bio-medical factors) และด้านนาโนเทคโนโลยี ข้อค้นพบและการศึกษาวิจัยในยุคปัจจุบันทำให้เกิดองค์ความรู้ที่สำคัญ พบว่า สถานการณ์ปัญหาด้านสุขภาพส่วนใหญ่ ไม่ได้เกิดขึ้นจากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งเพียงอย่างเดียวเพียงลำพังเท่านั้น แต่มีความเชื่อมโยงของปัญหาและสาเหตุที่เชื่อมโยงต่อกันและกัน โดยเริ่มต้นจากปัจจัยด้านบุคคล ครอบครัว สู่ชุมชน และอาจลุกลามไปสู่ชุมชนและสังคมใกล้เคียง หรือข้ามไปสู่ในชุมชนอื่น หรือประเทศอื่นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต วัฒนธรรม สังคม ประชากร เศรษฐกิจ การเปิดการค้าเสรีโลกและอาเซียน การเปลี่ยนแปลงด้านสาธารณสุข อนามัยสิ่งแวดล้อมสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย ภาวะโภชนาการ การรวมตัวของประเทศในภูมิภาคอาเซียนเกิดเขตกิจพิเศษ มีการย้ายถิ่นฐานของประชากร แรงงาน ในแถบอาเซียน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างรวดเร็ว ความทันสมัยของการคมนาคมที่รวดเร็ว ความเจริญด้านไอทีและคอมพิวเตอร์ ซึ่งก่อให้เกิดสังคมโลกไร้พรมแดน (globalization) ที่เชื่อมโยงสัมพันธ์ถึงกันทั่วโลก ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพกับคนในทุกภาคส่วนที่มีความหลากหลาย ในยุคปัจจุบัน ทั้งโรคไข้หวัดนก โรคจากการประกอบอาชึพ ไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่หรือ โรคซาร์ (SARS) โรคเมอร์ส หรือไวรัสเมอร์ส (MERS) ที่มีการแพร่กระจายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ผ่านการเชื่อมโยงสังคมและผู้คนในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะประเทศไทยและแถบประเทศอาเซียนที่มีอัตราการเกิดน้อยลงกำลังก้าวเข้าสู่ประเทศสังคมของผู้สูงอายุ เป็นต้น
ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงมีความจำเป็นต้องมีการพัฒนาคุณภาพบุคลากรด้านสุขภาพ ในสาขาสาธารณสุขศาสตร์ อนามัยสิ่งแวดล้อม โภชนาการ อาชีวอนามัย และความปลอดภัย สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร สัตวแพทย์ พยาบาล ให้สามารถดำเนินงานสาธารณสุข ด้านการป้องกันบำบัดรักษาเบื้องต้นและด้านการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ สร้างความรู้ ความเข้าใจในแนวคิดด้าน ด้านวิชาการการปฏิบัติงานทางสาธารณสุขอย่างกว้างขวางในการบริหารและจัดการด้านสาธารณสุข มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ครอบคลุมแบบองค์รวมโดยเป็นการบูรณาการวิชาการด้านสาธารณสุขศาสตร์อย่างมืออาชีพ สามารถนำหลักวิชาการด้านต่างๆ ความรู้ทางสาธารณสุขศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในสังคมหน่วยงานได้ทันเวลา ต่อเนื่องในเชิงรุกในระดับภูมิภาค ประเทศ และระดับนานาชาติ ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม เพื่อให้ดุษฎีบัณฑิตมีการพัฒนาความรู้ทางวิชาการ บนพื้นฐานของการใช้ความรู้ (Knowledge) การศึกษา (Education) การสร้างสรรค์งาน (Creativity) และการใช้ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual property) และเทคโนโลยี (Technology) ให้มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตมีภาวะผู้นำ สามารถปรับตัวพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีความสุข มีคุณค่า และมีผลิตผลที่ดี ตามทันนโยบายของรัฐบาลที่ผลักดันให้เข้าสู่ประเทศไทยยุคดิจิตอลมิติ 4.0
4.3 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
ผลิตดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ให้เป็นผู้นำด้านวิชาการ วิชาชีพ และนักวิจัยขั้นสูง ที่มีความสามารถทันโลกทันยุค รับผิดชอบต่อสังคม มีคุณลักษณะ ดังนี้
1) มีความรู้ความสามารถในการค้นคว้าวิจัยเพื่อสรรค์สร้างองค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรม ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางาน สังคม และประเทศ มีทักษะ และความเชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขในเชิงวิชาการและวิชาชีพขั้นสูง สามารถปฏิบัติงานสาธารณสุขเหมาะสมกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรม
2) มีทักษะและความสามารถด้านสาธารณสุขผ่านกระบวนการการวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่หลากหลายและเหมาะสม ปฏิสัมพันธ์กับทีมงานและบุคคลในการแก้ปัญหาด้านสุขภาพที่มีความซับซ้อน ประยุกต์องค์ความรู้เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบและยั่งยืน
3) มีความสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินสถานการณ์ และจัดการแก้ไขปัญหาสุขภาพ โดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์ ทฤษฎี ความรู้ แนวคิด บนพื้นฐานองค์ความรู้ด้านสาธารณสุข ระดับสูง สามารถเชื่อมโยงไปสู่ปัจจัยบุคคล ชุมชน สภาวะแวดล้อมอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาสุขภาพของประชาชนอย่างต่อเนื่องเป็นองค์รวม
4) เป็นนักวิชาการและนักวิชาชีพปฏิบัติที่สามารถบริหารจัดการองค์กร บูรณาการงาน สร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมด้านสาธารณสุข โดยใช้ทักษะทางด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสาธารณสุขอย่างมีประสิทธิภาพเหมาะสม ในการถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี เหมาะสมกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรม
เป็นผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลง มีวิสัยทัศน์กว้างในการบริหารจัดการระบบสุขภาพระดับชาติและสากล มีความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคม ทำงานร่วมกับทีมสุขภาพและภาคีอื่น ๆ ในการดำเนินงานด้านสาธารณสุขและสุขภาพอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบันวิชาชีพ